วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ผักสวนครัวกระถาง

การปลูก ผักสวนครัวกระถาง

                ในปัจจุบัน เรื่องอาหารการกินมีความสำคัญอย่างมาก ในการเลือกซื้ออาหาร เราทุกคนก็คงอยากได้อาหาร พืชผักที่ดีๆ ไม่มีสารพิษกันใช่มั๊ยครับ แต่ถ้าไปซื้อที่ตลาด คงได้ผักแถมสารพิษมากมายกลับบ้านด้วย
                ดังนั้นวันนี้ ผมจึงได้นำแนวคิดของ การปลูกผักบนดาฟ้า มาทำการปลูกผักในกระถางกัน การปลูกผักไว้กินเอง ย่อมมีความมั่นใจในผักที่เราปลูกเองว่า ไม่มีสารพิษแน่นอน และเป็นการออกกำลังกายไปในตัว  ส่วนมากผมจะตื่นขึ้นมาดูแล ผักที่ผมปลูกในทุกเช้า วันละ ครึ่ง ชม.               
                พอเห็นผักที่เราปลูกเองเจริญเติบโต ก็ชื่นใจ แถมมีความสุขเองอีกด้วย เรามาเริ่มกันเลยนะครับ

ผักสวนครัวที่นิยมปลูกในกระถาง
                ผักสวนครัวที่เหมาะสมในการนำมาปลูก  ได้แก่  พริกผักชีหอมแคมะเขือเทศมะเขือพวง, ถั่วพู, ชะอม, มะเขือเปราะแตงกวาถั่วฝักยาวผักกาดผักบุ้งบวบเป็นต้น
                ผักพื้นบ้าน  เช่น  ฟักข้าว, ผักพลูคาว, มะรุม, หม่อนสันพร้าหอม, ตะไคร้, ข่าดอกขจร, ผักหวานบ้าน, ชะพลู, ตำลึงอัญชัน, ผักลืมผัว, มะนอย, เก๋ากี้, กุยช่ายต้น, กุยช่ายดอก, ผักคราด, หญ้าปักกิ่ง, ยอบ้าน, ผักคันทรงเนียมหูเสือ, โหระพาน้ำหอมด่วนต้น, สะระแหน่, แก้วเมืองจีน,ผักปลัง  เป็นต้น
                แม้กระทั่งฟักทอง ก็สามารถปลูกในกระถาง  โดยมีการควบคุมทรงพุ่มไม่ให้เลื้อยได้,   มะขาม (เปรี้ยว) สามารถตัดแต่งให้อยู่ในกระถางได้มะละกอ, กล้วย ก็เช่นเดียวกัน สามารถปลูกในกระถางได้ แต่อาจจะต้องใช้กระถางที่ใหญ่หน่อยนะครับ เช่น โอ่งหรือกระถางบัว


แนะนำวิธีการปลูกผักในกระถางไว้กินเอง
                1. เลือกชนิดของผักตามความชอบ  โดยซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตร
                2. ใส่ดินในถาดเพราะกล้า ให้เรียบร้อย

                ๒.  เลือกภาชนะที่ปลูก  เช่น  กระถางดินเผา  กระถางพลาสติก  เป็นต้น กระถางดินเผาจะระบายความร้อนได้ดีกว่า กระถางพลาสติก แต่กระถางดินเผาก็มีราคาสูงกว่า กระถางพลาสติกเช่นกัน (ส่วนผมใช้กระถางพลาสติกครับ)



                ๓.  เตรียมวัสดุปลูก  เช่น  ดิน  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  กาบมะพร้าวสับ  หรือวัสดุปลูกสำเร็จรูป (ดินที่ผมใช้ผมซื้อดินถุงครับ ต้องเลือกดูยี้ห้อนิดนึง ครับบางยี้ห้อ ใส่แกลบมากเกินไป เนื้อดินหน่อย ทำให้ปลูกผักไม่ค่อยขึ้นในช่วงแรก หากปล่อยทิ้งไว้ หลายเดือน เพื่อให้แกลบย่อยสลาย เพื่อให้มีเนื้อดินมากขึ้น หรือเราเอาดินเก่าๆ ผสมคลุกลงไป ก็สามารถปลูกผักได้แล้วครับ) กว่าผมจะปลูกกินได้ก็ใช้เวลา 2-3 เดือนเหมือนกันกว่าจะเข้าใจว่าต้องเตรียมดินอย่างไร
                ๔.  นำส่วนผสมของวัสดุปลูกลงในภาชนะ
                                4.1 ใส่กาบมะพร้าวลองก้นถัง เพื่อให้กาบมะพร้าวอุ้มน้ำไว้ เวลาที่เราปลูกผักตั้งไว้บนพื้นปูน บนดาดฟ้า กาบมะพร้าวที่อุ้มน้ำไว้ จะเป็นตัวกันความร้อนที่เกิดจากพื้นปูน
                                4.2 เอาดินที่เราทำการเตรียมดิน โดยการผสมปุ๋ยหมัก เศษวัชพืช ไว้แล้วใส่ลงในถัง
                                4.3 นำต้นกล้าลงปลูก หรือหยอดเมล็ดโดยตรง  รดน้ำให้ดินชื้นพอหมาด ๆ
           ๕.  เติมปุ๋ยหมัก ครั้งละน้อย ๆ  หรือปุ๋ยคอกที่หมักนาน  ๓  เดือน  โดยดูสภาพความสมบูรณ์ของต้น
                ๖.  หมั่นดูแลโรคแมลงไม่ให้รบกวน (ถ้ามีแมลงรบกวน ก็ใช้น้ำหมัก จากต้นสะเดา หรือน้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นครับ)


วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกพืชผักโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ

โดย อาจารย์ทิพวรรณ สิทธิรังสรรค์

          จากพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเสด็จทอดพระเนตร โครงการศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนเกษตร วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2530 โดยให้ศูนย์ฯ แห่งนี้ดำเนินการแก้ไขสภาพดินเสื่อมโทรม และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำแก่ราษฎรทั่วไป เนื่องจากบริเวณนี้มีสภาพแห้งแล้งดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันการเพาะปลูกของประเทศไทย ก็ประสบปัญหาหลายประการ ที่สำคัญประการแรกคือ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ กล่าวคือพื้นที่การเกษตรของประเทศไทยประมาณ 80% เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีเป็นกรดสูง และที่สำคัญเป็นดินที่ขาดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดิน และต่อพืชซึ่งเรียกได้ว่าเป็นดินตาย สาเหตุก็มาจากการปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำกันหลายปี ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียนอีก ทั้งมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นส่วนใหญ่ สุดท้ายก็ทำให้เกิดสภาพดินกรด ขาดความอุดมสมบูรณ์เกษตรกรปลูกพืช แล้วให้ผลตอบแทนได้ไม่เต็มที่

          ประการที่สองเกษตรกรประสบปัญหาแมลงศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ รบกวนไม่ว่าจะเป็นสวนผัก สวนผลไม้ ไม้ดอก-ไม้ประดับ พืชไร่-นา ชนิดต่าง ๆ และหนทางที่เกษตรกรเลือกใช้แก้ปัญหา ส่วนใหญ่ก็คือสารเคมีฆ่าแมลงแต่จากการที่เกษตรกร ขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สารเคมี วิธีการใช้ที่เหมาะสม ช่วงเวลาในการใช้ เกษตรกรใช้สารเคมีหลายชนิดซ้ำซ้อนกัน และในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น มีผลทำให้สารพิษตกค้างในผลผลิต มีต้นทุนการผลิตสูง เป็นอันตรายต่อเกษตรกรผู้ผลิตเอง และผู้บริโภคเองก็ได้รับอันตรายเช่นกันมีผู้บริโภคจำนวนมาก ที่ต้องหวาดระแวงกับพิษภัยของสารพิษตกค้างในอาหาร และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในภูมิภาคนั้น อีกทั้งในปัจจุบันกระแสความต้องการผลผลิต ทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ กำลังมีความต้องการและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ และล่าสุดคือ นโยบายการควบคุมผักที่มีสารพิษตกค้างเกินกำหนด มิให้เข้ามาจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยมากขึ้น และเกษตรกรเองก็ต้องปรับปรุงการเพาะปลูกให้ปลอดภัย ตามความต้องการของตลาดด้วย ไม่ว่าเกษตรกรคนไหน ๆ ก็อยากปลอดภัยจากสารเคมี ไม่มีใครอยากใช้สารเคมีเพราะอันตรายทั้งตนเองและผู้บริโภค แต่ถ้าไม่ใช้แล้วจะใช้อะไรทดแทน ปัญหาในการเพาะปลูกที่เกษตรกรพบมี 2 ประการใหญ่คือ เรื่อง ความอุดมสมบูรณ์ของดินถ้าไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน เพื่อที่จะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี และอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ถ้าไม่ใช้สารเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน

          แนวทางที่จะทำให้ดินเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็น ดินที่มีชีวิต สามารถเพาะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีไม่ว่าจะเป็นพืชไร่-นา ผัก ผลไม้ ดอกไม้ก็ตาม และจะเป็นแนวทางที่จะสามารถผลิตผลผลิต ที่ปลอดภัยจากสารพิษทางการเกษตร ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภคช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถทำเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแนวทางนั้นก็คือ แนวทาง เกษตรธรรมชาติ นั่นเอง
ความหมายของเกษตรธรรมชาติ

          เกษตรธรรมชาติ หมายถึง การทำการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด แต่จะให้ความสำคัญของดินเป็นอันดับแรก ด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูก เหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นระบบเกษตรที่มีความยั่งยืน ถาวร เป็นอาชีพที่มั่นคง
หลักเกษตรธรรมชาติ
          ถ้าเราศึกษาสภาพป่าเราจะเห็นว่าในป่ามีต้นไม้นานาชนิดขึ้นปะปนกันอยู่เต็มไปหมด ผิวดินถูกปกคลุมไปด้วยใบไม้ที่หล่นทับถมกัน สัตว์ป่าถ่ายมูลไว้ที่ผิวหน้าดินคลุกเคล้ากับใบไม้และซากพืช มูลสัตว์รวมทั้งซากสัตว์ โดยมีสัตว์เล็ก ๆ เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ จิ้งหรีด ฯลฯ กัดแทะเป็นชิ้นเล็ก ๆ และมีจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินช่วยย่อยสลายจนกลายเป็นฮิวมัส ซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและใช้ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่านั่นเอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเอาปุ๋ยเคมีไปใส่ในป่า ซึ่งเกษตรกรสามารถเลียนแบบป่าได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด ใช้ปุ๋ยชีวภาพ เช่น ไรโซเบียม ไมโครไรซ่า เป็นต้น ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ใบไม้และเศษพืชที่ปกคลุมผิวดินก็เป็นการคลุมผิวหน้าดินไว้ ป้องกันการสูญเสียความชื้นภายในดินทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืช ถ้าศึกษาต่อไปจะพบว่า แม้ไม่มีใครนำเอายาฆ่าแมลงไปฉีดพ่นให้ต้นไม้ในป่า แต่ต้นไม้ในป่าก็เจริญเติบโตแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงได้ตามธรรมชาติ ถึงแม้จะมีโรคและแมลงรบกวนบ้างก็ไม่ถึงขั้นเสียหายและยังสามารถให้ผลผลิตได้ตามปกติ นั่นก็คือ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่บนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ นอกจากนี้พืชในป่าก็มิได้เป็นพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด แต่เป็นพืชหลากหลายชนิดทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลง และแมลงบางชนิดก็เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ดังนั้นจึงเกิดสมดุลตามธรรมชาติโอกาสที่แมลงศัตรูพืชจะระบาดจนเกิดความเสียหายจึงมีน้อย ดังนั้นเกษตรกรจึงสามารถจำลองสภาพป่าไว้ในไร่-นาโดยการปลูกพืชให้หลากหลายชนิด

          หลักเกษตรธรรมชาติก็เป็นหลักการที่เลียนแบบมาจากป่าที่สมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งจะประกอบด้วยการปฏิบัติการทางการเกษตรที่คำนึงถึง ดิน พืช และแมลง ไปอย่างพร้อมกันคือ

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมที่ http://www.ku.ac.th/e-magazine/november43/plant/